อุทยานหลวงราชพฤกษ์

ความเป็นมา
      เนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ใน พ.ศ.๒๕๔๙ และทรงเจริญพระชนมายุ ๘๐ พรรษา ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ และคณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๖ เห็นชอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดงานมหกรรมพืชสวนโลก ๒๕๔๙ ณ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ตำบลแม่เหียะ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ (พื้นที่ ๔๖๘ ไร่ ๓ งาน ๑๐ ตารางวา) โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑ พฤศจิกายน  ๒๕๔๙ ถึงวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๐ รวม ๙๒ วันภายใต้ชื่อ “มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ ๒๕๔๙” ซึ่งเป็นงานที่ประเทศไทยประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก

จากความสำเร็จของการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ ๒๕๔๙ ที่ได้รับการตอบรับทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเป็นอย่างดี คณะรัฐมนตรีจึงมีมติ เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๑ ให้สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) เข้ามาบริหารจัดการและใช้ประโยชน์พื้นที่สวนเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ ๒๕๔๙ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการและปฏิบัติงานด้านต่างๆ มีภารกิจหลักในการพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้พืชสวนและเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางการเกษตรและวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่และประเทศไทย โดยได้รับการถ่ายโอนกิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ และงบประมาณของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาเป็นของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) เมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๒ และมีการส่งมอบสวนเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ ๒๕๔๙ ในวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๒



      สำหรับการตั้งชื่ออุทยานหลวงราชพฤกษ์นั้น หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี องค์ประธานมูลนิธิโครงการหลวง ได้มีลายพระหัตถ์ที่ ล. ๐๑/๓๕๘ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ ขอพระราชทานชื่อสวนซึ่งเป็นสถานที่จัดงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ ๒๕๔๙ ณ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ว่า “สวนหลวงราชพฤกษ์” ต่อมาท่านผู้หญิงบุตรี  วีระไวทยะ รองราชเลขาธิการ ปฏิบัติราชการแทนราชเลขาธิการ ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อสวนดังกล่าวว่า “อุทยานหลวงราชพฤกษ์” ตั้งแต่วันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๕๓ และได้รับพระราชทานชื่อภาษาอังกฤษว่า “Royal Park Rajapruek” ตามหนังสือสำนักราชเลขาธิการที่ รล. ๐๐๓.๔/๕๕๐๔๕ ลงวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๓
ชื่ออุทยานหลวงราชพฤกษ์  หมายถึง สวนของพระมหากษัตริ



สวนไทย 
   สวนไทยเป็นพื้นที่จัดแสดงพืชสวนเขตร้อนชื้น ที่มีหลากหลายของพันธุ์พืช เทคโนโลยีการผลิต และการแปรรูป ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 1,900 ชนิด รวมแล้วมากกว่า 3.2 ล้านตัน ประกอบด้วยไม้ในกลุ่มต่าง ๆ คือ ไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้ดอกไม้ประดับ โดยเฉพาะกล้วยไม้ สมุนไพร พืชผักและเห็ด พันธุ์ไม้หายาก และสวนอื่น ๆ เช่น สวนไม้หอม สวนไม้ในวรรณคดี สวนไม้ประจำจังหวัด อาคารเรือนร่มไม้ ฯลฯ
นอกจากนี้ ยังจัดแสดงพันธุ์พืชต่าง ๆ ภายในกลุ่มอาคารเรือนกระจก ได้แก่ อาคารพืชทะเลทราย อาคารไบโอเทคโนโลยี อาคารพืชเขตร้อน อาคารพืชเขตหนาว และอาคารพืชไร้ดิน รวมทั้งยังมีหมู่บ้านสี่ภาค ที่จัดแสดงวิถีชีวิตความเป็นไทย และการดำเนินชีวิตที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมตามภูมิภาคนั้น ๆ สวนไทยประกอบด้วย
 2.   อาคารพืชเขตร้อนชื้น
 3.   เรือนร่มไม้
 4.    อาคารพืชไร้ดิน
 5.    อาคารกล้วยไม้
 6.    สวนสมุนไพร
 7.    สวนบอนไซ
 8.    เรือนไทยภาคเหนือ
 9.  เรือนไทยภาคอีสาน
10. เรือนไทยภาคใต้
11.  เรือนไทยภาคกลาง
12.  นิทรรศการไม้ประจำจังหวัด

สวนองค์กรเฉลิมพระเกียรติฯ 
               สวนองค์กรเฉลิมพระเกียรติฯเป็นส่วนแสดงการจัดสวน เพื่อเฉลิมพระเกียรติฯพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยองค์กรระดับแนวหน้าของไทย ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งรัฐวิสาหกิจร่วมจัดแสดงสวนซึ่งแต่ละสวนมีรูปแบบการนำเสนอแนวพระราชดำริที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตร และการพัฒนาในด้านต่างๆ  รวมทั้ง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น ทฤษฏีการจัดการน้ำ  ดิน ป่าไม้ เกษตรทฤษฏีใหม่ เศรษฐกิจพอเพียง และพืชพลังงาน มีองค์กรจากภาครัฐและเอกชนร่วมจัดสวน 19 องค์กร จำนวน 19 สวน ได้แก่
2.         สวนบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด
3.         สวนบริษัท โตโยต้า มอร์เตอร์ประเทศไทย จำกัด
4.         สวนบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
5.         สวนบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
8.         สวนจังหวัดฉะเชิงเทรา
9.         สวนจังหวัดเชียงใหม่
10.      สวนเทศบาลนครเชียงใหม่
11.      สวนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
12.      สวนองค์การสวนพฤกษศาสตร์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
15.      สวนธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
17.      สวนการประปานครหลวง
18.      สวนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
19.      สวนมูลนิธิโครงการหลว
สวนนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ ฯ 
สวนนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ ฯ เป็นพื้นที่จัดแสดงของมิตรประเทศที่มาร่วมเฉลิมฉลองในวโรกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองราชย์สมบัติครบ 60 ปี ในปี พ.ศ. 2549 โดยมีประเทศต่างๆ เข้าร่วมจัดสวนทั้งหมด 22 ประเทศ จาก 3 ทวีป 23 สวน
ทวีปเอเชีย 13 ประเทศ 13 สวนโดยประเทศญี่ปุ่น ( 2 สวน) จัดในนามรัฐ 1 สวน และในนามจังหวัดเกียวโต โอซาก้า และเฮียวโกะ อีก 1 สวน ,ทวีปยุโรป 4 ประเทศ  4  สวน , ทวีปแอฟริกา  5 ประเทศ 5 สวน
1.     สวนประเทศบังคลาเทศ
5.     สวนประเทศอินเดีย
6.     สวนประเทศอินโดนีเซีย
10.   สวนประเทศลาว
12.   สวนประเทศเนปาล
17.   สวนประเทศเนเธอร์แลนด์
















                                                                                               อ้างอิงจาก
                                                                                                     http://www.royalparkrajapruek.org 
                                                                                           www.youtube.com
                                                                                                                               กลับสู่หน้าหลัก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น